หลักการและเหตุ
การขนส่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์มาช้านาน ทั้งการเดินทางของคนและการขนส่งสินค้า การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งจึงมีความจำเป็น เพื่อที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) และเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility) ให้รวดเร็วขึ้น ผลของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการขนส่งนั้นยังทำให้เกิดการเติบโตของเมืองด้วยเช่นกัน
จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการศึกษา และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคอินโดจีน จังหวัดขอนแก่นมีที่ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนกลางของกลุ่มประเทศความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Greater Mekong Subregion Cooperation, GMSC) และเป็นสี่แยกอินโดจีนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เนื่องจากเป็นจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจด้านทิศเหนือ – ทิศใต้ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (East – West Economic Corridor) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศไทยสู่ตลาดในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและต่างประเทศได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้จังหวัดขอนแก่นมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว ปัญหาการจราจรติดขัดจึงกลายเป็นปัญหาหลักของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและเร่งด่วน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดและทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองน่าอยู่
ในปัจจุบันเมืองขอนแก่นถือเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา ความเจริญ เศรษฐกิจ หน่วยงานราชการ และการคมนาคมที่สำคัญของภูมิภาคอีสาน การเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีจำนวนมาก เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมืองขอนแก่นการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการคมนาคมขนส่งของภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น โครงการรถไฟทางคู่ (ขอนแก่น – หนองคาย) โครงการก่อสร้างท่าเรือบก โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครราชสีมา-ขอนแก่น เป็นต้น
ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยวิจัยการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Mobility Research Unit (SUMR Unit) จะเป็นหน่วยวิจัยเฉพาะทางที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองต่อนโยบายของประเทศ (เช่น ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13) วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และพันธกิจ ของจังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมุ่งเน้นให้คณาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการนำเอาองค์ความรู้และวิทยาการที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างศักยภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลด้านการขนส่งและพัฒนาเมือง ในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นหน่วยวิจัยด้านการขนส่งและพัฒนาเมือง ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย นวัตกรรม และการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
- เพื่อสร้างสรรค์และผลิตผลงานวิจัย นวัตกรรม และผลงานสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร และให้บริการวิชาการด้านการขนส่งและพัฒนาเมือง ที่มีผลกระทบในระดับชุมชนและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้บริการทดสอบรองรับการตรวจสอบวัสดุในงานวิศวกรรมโยธาทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม แก่หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมออกใบรับรองผลการตรวจสอบและรับรองผลตรวจผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เป้าหมาย
- เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 1 บทความ/ปี หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ศิษย์เก่า ผู้สนใจ และประชาชนทั่วไป ที่ขอความอนุเคราะห์การบริการทางวิชาการด้านการขนส่งและพัฒนาเมือง และบริการทดสอบวัสดุในงานวิศวกรรมโยธาไม่น้อยกว่า 1 แห่ง/ปี
- เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ศิษย์เก่า ผู้สนใจ และประชาชนทั่วไป ที่ขอความอนุเคราะห์การบริการทางวิชาการด้านการขนส่งและพัฒนาเมือง และบริการทดสอบวัสดุในงานวิศวกรรมโยธา มีความพึงพอใจต่อการให้บริการทางวิชาการและการทดสอบวัสดุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
โครงสร้างการบริหารหน่วยวิจัยฯ
ที่ปรึกษาหน่วยวิจัย |
||||
|
||||
ศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง |
|
รศ.ดร.ลัดดา ตันวาณิชกุล |
||
หัวหน้าหน่วยวิจัยฯ |
||||
ผศ.ดร.วรรธนะ ประภาภรณ์ | ||||
รองหัวหน้าหน่วยวิจัยฯ |
||||
อ.ดร.ทรงพล ทรงแสงฤทธิ์ | ||||
นักวิจัย |
||||
ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ | ผศ.ดร.ปฎิภาณ แก้ววิเชียร | ผศ.ดร.วุฒิไกร ไชยปัญหา | ||
อ.ดร.ธนพล พรหมรักษา | อ.ดร.ทับทิม ชาติสุวรรณ์ | อ.ดร.วรัญวิชช์ อุทธา |
ผลงานด้านการวิจัย บริการวิชาการ และการทดสอบ
การประชุมวิชาการ
- จารุวัฒน์ คำหนูไทย ธนพล พรหมรักษา วุฒิไกร ไชยปัญหา ปฏิภาณ แก้ววิเชียร และทรงพล ทรงแสงฤทธิ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ยินยอมให้คนเดินเท้าข้ามทางม้าลายในช่วงถนน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 The 29. วันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 จ.เชียงใหม่.
- ภาณุพงศ์ นันทกุล วุฒิไกร ไชยปัญหา ปฏิภาณ แก้ววิเชียร ธนพล พรหมรักษา และ วรรธนะ ประภาภรณ์. (2564). การประเมินประสิทธิภาพแนวทางในการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณทางแยกต่อเนื่องตามแนวถนนประชาสโมสร จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 The 29. วันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 จ.เชียงใหม่.
- นพพงศ์ นาคเกษม ปฏิภาณ แก้ววิเชียร วุฒิไกร ไชยปัญหา ธนพล พรหมรักษา และ วรัญวิชช์ อุทธา. (2564). การวิเคราะห์ระยะการเตือนล่วงหน้าในบริเวณงานก่อสร้างและบูรณะทางบนถนนทางหลวงแผ่นดินโดยแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 The 29. วันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 จ.เชียงใหม่.