ปรัชญาการศึกษา (The educational philosophy)
“มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมุ่งผลิตนักปฏิบัติ โดยจัดการศึกษามุ่งเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีลักษณะนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะวิชาชีพและวิชาการ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีแนวคิดและคุณสมบัติความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน”
Download : ปรัชญาการศึกษา มทร.อีสาน
ข้อกำหนดหลักสูตร (Programme specification)
ชื่อมหาวิทยาลัยที่ให้ปริญญา (Awarding body/Institution)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา
- วิทยาเขตขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
การรับรองหลักสูตร (Details of accreditation by professional)
- การรับรองหลักสูตร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- การรับรองปริญญาในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม : สภาวิศวกร
ชื่อปริญญา (Name of the final award)
- ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
- ชื่อย่อภาษาไทย วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
- ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
- ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Eng. (Civil Engineering)
ชื่อหลักสูตร (Programme title)
- รหัสหลักสูตร 5611994000787
- ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
วิชาเอก
- วิศวกรรมโยธา Civil Engineering
- วิศวกรรมระบบราง Civil Railway Engineering
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ประเภทของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
- ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยเป็นหลัก อาจมีเอกสารและตำราเป็นภาษาอังกฤษบางรายวิชา
- การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้
- ความร่วมมือกับสถาบันอื่น –
- การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
อาชีพที่สามาถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรโยธาในสถานประกอบการ หรือหน่วยงานเอกชน
- รับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และระบบราง
- ปฏิบัติงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และระบบราง
- นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธา และระบบราง
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวในด้านวิศวกรรมโยธา
หมายเหตุ : ตำแหน่งวิศวกรโยธา (วิศวกรภาคสนาม, วิศวกรโครงสร้าง, วิศวกรสิ่งแวดล้อม, วิศวกรควบคุมคุณภาพ, วิศวกรจัดการโครงการ, วิศวกรตรวจสอบงานก่อสร้าง)
โครงสร้างหลักสูตร
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 110 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 38 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ 50 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
เกณฑ์รับเข้า หรือคุณสมบัติผู้สมััคร (Admission criteria or requirements)
1) รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาอุตสาหกรรม หรือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า ที่สาขาวิชาฯ พิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม
2) รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการก่อสร้าง โยธา สำรวจ เทคนิคสถาปัตยกรรม ช่างเทคนิคและระบบขนส่งทางราง หรือเทียบเท่า ที่สาขาวิชาฯ พิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม โดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเกี่ยวกับการศึกษาระดับปริญญาปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
- PLO1 ปฎิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตลอดจนปรับเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาเรียนรู้ตลอดชีพ
- PLO2 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การนำเสนอ และ แสดงออกถึงภาวะผู้นำ ให้ความช่วยเหลือและรับฟังความคิดเห็นของการทำงานต่อบุคคลและทีม
- PLO3 เลือกใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมในการวิเคราะห์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ขององค์ความรู้ทางวิศวกรรมในงานการสืบค้นข้อมูล กำหนดขั้นตอนงาน และกระบวนการทางวิศวกรรมโยธา เพื่อออกแบบการทดสอบและทดลอง
- PLO4 วิเคราะห์ และคำนวณงานโครงสร้าง งานสำรวจ งานขนส่ง งานแหล่งน้ำ และงานเทคนิคธรณี โดยใช้ความรู้และการเรียนรู้จากประสบการณ์ เชื่อมโยงหลักการทางวิศวกรรมและการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาตนเป็นผู้ประกอบการ
- PLO5 วิเคราะห์ผลกระทบของคําตอบของปัญหาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ทางวิศวกรรมโยธาตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ในประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม ชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
- PLO6 ตรวจสอบและทดสอบวัสดุงานทาง เขียนแบบและควบคุมงานก่อสร้างถนน ตามมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างความชำนาญในการปฏิบัติงานของวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
- PLO7 ตรวจสอบและทดสอบวัสดุงานโครงสร้างพื้นฐานทางราง เขียนแบบและควบคุมงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางราง ตามมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างความชำนาญในการปฏิบัติงานของวิชาเอกวิศวกรรมโยธาระบบราง
การบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) เมื่อสำเร็จการศึกษา
รายวิชาตามแผนการเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (PLOs Curriculum Mapping)
Download : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต-สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566) (มค.อ.2)